ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ทำการทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจากประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของปี 2565โดยอ้างอิงตามหลักการของ GRI Universal Standards 2021 GRI 3: Material Topics 2021 ประกอบกับการพิจารณาตามแนวทาง Double Materiality และ Multi-stakeholder Approach เพื่อให้เห็นภาพรวมของผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม (Outward Impact) และผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ (Inward Impact) ทั้งด้านการเงินและความสามารถในการสร้างคุณค่าของธุรกิจในอนาคต

บริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนผลกระทบเชิงลบและเชิงบวกที่มีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ผู้คนและสังคม ตลอดจนผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งจากการดำเนินงานของบริษัทเองและจากการดำเนินงานของผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทฯ ทางธุรกิจ เช่น คู่ค้าและผู้รับเหมา ในกิจกรรมหลักตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วหรือมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และประเมินความสำคัญของผลกระทบอ้างอิงตามแนวทาง OECD Due Diligence Guidance For Responsible Business Conduct ทั้งนี้ การทบทวนความสำคัญของผลกระทบในครั้งนี้กระทำโดยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในบริษัทฯ ร่วมกับที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนจากภายนอกองค์กร ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าว โดยพิจารณาความสำคัญจากความรุนแรง ลักษณะของผลกระทบ ขอบเขตของผลกระทบ โอกาสที่จะเกิดขึ้น และความสามารถในการแก้ไขผลกระทบ

บริษัทฯ ได้จัดกลุ่มผลกระทบที่สำคัญให้เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG Topics) และได้พิจารณาประเด็นความยั่งยืนเพิ่มเติมจากผลการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ และปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่มีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อธุรกิจของบริษัทฯ เช่น การเปลี่ยนแปลงของโลกและการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาค แนวโน้มและทิศทางด้านความยั่งยืน ประเด็นสำคัญของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมใกล้เคียง ประเด็นที่กำหนดในมาตรฐานและแบบประเมินความยั่งยืนของอุตสาหกรรม และประเด็นที่เป็นข้อกังวลระดับโลก

ขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

การจัดลำดับความสำคัญของประเด็น

บริษัทฯ นำประเด็นด้านความยั่งยืนที่ระบุได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญโดยอ้างอิงแนวคิดและหลักการ Double Materiality ของ European Financial Reporting Advisory Group (EFRAG) ในการประเมินระดับความสำคัญของผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ผู้คนและสังคม รวมถึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้คนเหล่านั้น หรือ Impact materiality และระดับความสำคัญของผลกระทบจากประเด็นดังกล่าวที่มีต่อบริษัทฯ ในด้านการเงินและการสร้างคุณค่าในระยะยาวทั้งจากความเสี่ยงหรือโอกาสทางธุรกิจ หรือ Financial-related sustainability materiality และแสดงลำดับความสำคัญของประเด็นในตาราง Materiality Matrix โดยกำหนดให้

 

แกนตั้ง (แกน Y ) แสดงถึง ระดับนัยสำคัญของผลกระทบจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG Topics) ที่มีต่ออมตะ   

แกนนอน (แกน X )  แสดงถึง ระดับนัยสำคัญของผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจของอมตะ

และ ขนาดของประเด็น แสดงถึง ระดับความสำคัญที่ผู้มีส่วนได้เสียมีต่อประเด็นต่างๆ

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

ในปี 2566 บริษัทฯ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจากปี 2565 ยังคงมีประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญรวมทั้งสิ้น 19 ประเด็น และได้แบ่งประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเป็น 3 ระดับ ตามความสำคัญของผลกระทบที่มีต่อบริษัทฯ และต่อผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ประเด็นที่มีความสำคัญสูงมาก สำคัญมาก และสำคัญปานกลาง จำนวน 12, 6 และ 1 ประเด็นตามลำดับ และเนื่องจากทุกประเด็นด้านความยั่งยืนมีผลกระทบที่เชื่อมโยงกับเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ จึงไม่ได้กำหนดให้เรื่องสิทธิมนุษยชนแยกออกเป็นประเด็นเฉพาะ และมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน รวมถึงมีการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสและผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในทุกประเด็น

ร่วมสร้างอนาคตไปกับอมตะ

AMATA

Contact us for more details.

Thailand
+66 38 939 007
Vietnam

+84 251 3991 007 (South)
+84 203 3567 007 (North)

Myanmar
+95 1 230 5627
Laos

+85 620 5758 0007

© AMATA CORPORATION PCL. All rights reserved.  Web by Toneyes  Web by Toneyes